รูปแบบการสร้างรายได้จากการให้บริการต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
  • การเก็บค่าสมาชิก (Member Fee)
      การเก็บค่าสมาชิกถือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเก็บได้จากผู้ที่เข้ามาใช้บริการภายในเว็บไซต์ โดยการเป็นสมาชิกจะสามารถได้สิทธิพิเศษเหนือกว่าคนทั่วไป หรือ เป็นบริการสำหรับสมาชิกเท่านั้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นสิ่งที่สมาชิกจะได้ต้องมีความน่าสนใจพอที่ให้คนทั่วไปจะสมัครสมาชิก และจ่ายเงินให้กับเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ www.BenzUser.com เป็นเว็บไซต์สำหรับคนรักรถเบนซ์ โดยสิทธิพิเศษสำหรับผู้ที่สมัครสมาชิกจะ สามารถเข้าชมเว็บบอร์ดของสมาชิก และสามารถปรึกษาสอบถามเรื่องรถเบนซ์ได้อย่างละเอียด, มี Sticker ชื่อเว็บไซต์ไว้ติดรถ, รับสิทธิ์ร่วมกิจกรรมของกลุ่ม Member ตลอดปี, ได้รับส่วนลดการทำประกันภัยราคาพิเศษ
  • การให้บริการพิเศษที่ดีกว่าปกติ (Additional Service)
        บางเว็บไซต์อาจจะมีการให้บริการปกติอยู่แล้ว คุณสามารถเพิ่มบริการบางอย่างให้ดีกว่าเดิม และเก็บค่าบริการจากบริการพิเศษที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการยินดีจ่ายกับสิ่งที่ดีขึ้นกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น
    • เว็บไซต์ www.ThaiMisc.com เว็บไซต์ให้บริการฟรีเว็บบอร์ด ที่คุณสามารถเปิดเว็บบอร์ดของคุณเองได้ทันที โดยสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี.! แต่สำหรับท่านที่ต้องการเว็บบอร์ดที่มีความสามารถนอกเหนือจากเว็บบอร์ดแบบฟรี สามารถสมัครเว็บบอร์ดแบบ VIP ซึ่งเว็บบอร์ดแบบ VIP จะมีความสามารถพิเศษเพิ่มจากเว็บบอร์ดแบบฟรี.! ได้แก่ เว็บบอร์ดของคุณจะได้พื้นที่ในการเก็บรูปภาพมากขึ้น, ไม่มีแบนเนอร์โฆษณาในเว็บบอร์ดของคุณ (ของฟรี จะมีโฆษณาแสดงอยู่), มีระบบ Backup เก็บข้อมูลภายในเว็บบอร์ดของคุณไว้ให้ตลอด นี้เป็นส่วนหนึ่งที่เว็บบอร์ดแบบ VIP ที่มีความแตกต่างจากเว็บบอร์ดแบบฟรี.! ซึ่งมีหลายๆ คนให้ความสนใจสมัครใช้บริการ
    • เว็บไซต์ www.KeepAlbum.com เว็บไซต์ให้คุณสามารถสร้าง อัลบัมรูปภาพออนไลน์ของคุณได้ฟรี.! แต่หากสมัครเป็น Gold อัลบัม จะมีบริการพิเศษเพิ่มเติมมากมาย เช่น สร้างอัลบัมออนไลน์ได้ไม่จำกัด, ใส่เพลงประกอบอัลบัม, ไม่มีแบนเนอร์โฆษณาในหน้าอัลบัม, สามารถนำรูปภาพไปใช้ที่เว็บอื่นได้ เป็นต้น โดยการ Gold อัลบัมจะมีค่าใช้จ่ายในการสมัคร
     ซึ่งหากดูรูปแบบการให้บริการของทั้ง 2 เว็บไซต์ที่ผมได้ยกตัวอย่าง นั้นสามารถสร้างรายได้จากการให้บริการพิเศษ ที่ดีกว่าปกติแก่ผู้ใช้บริการ นอกเหนือจากบริการฟรีที่มีอยู่ภายในเว็บไซต์ ซี่งบริการฟรี เป็นเหมือนกับ สิ่งที่ให้ผู้ใช้ได้ลองใช้ ซึ่งหากลองแล้วเกิดติดใจ หรือชื่นชอบ ก็สามารถสมัครใช้บริการที่ดีกว่าได้ ทันที สำหรับเทคนิคการตั้งราคาค่าบริการ คุณอาจจะตั้งราคาที่ไม่แพงมาก เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่จะมาใช้บริการของเว็บไซต์คุณ ซึ่งหากราคาไม่แพงแต่จำนวนผู้ใช้บริการมาก (Volume) คุณก็สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็น กำจากการให้บริการได้เช่นกัน
  • การให้เช่าใช้บริการแอพพลิเคชั่น (Application Service Provider, ASP)
       บางครั้งเว็บไซต์ของคุณสามารถให้บริการเช่าใช้แอพพลิเคชั่นได้ โดยรูปแบบการให้บริการ จะเป็นการให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้ามาใช้บริการแอพพลิเคชั่นของคุณได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต โดยแอพพลิเคชั่นจะต้องเป็นรุปแบบของเว็บไซต์ (Web Base) โดยรูปแบบสามารถชำระค่าบริการเป็นรายเดือนไป โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นทั้งหมดในราคาแพงๆ ไปลงที่บริษัท แต่เป็นการเช่าใช้แอพพลิเคชั่นในแต่ละเดือนๆ ไป ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้จะถูกกว่ากว่าลงทุนซื้อหรือพัฒนาเองทั้งหมด ซึ่งรูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่นิยมให้บริการเช่าใช้ส่วนใหญ่ในตลาดมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบ E-mail, ระบบ E-Commerce, ระบบบัญชี, ระบบ ERP และ ระบบ CRM เป็นต้น
    ยกตัวอย่างเช่นระบบ E-Commerce ของเว็บไซต์ www.TARAD.com เป็นรูปแบบของบริการที่ให้เช่าใช้บริการเว็บไซต์ E-Commerce สำเร็จรูปฟรี.! โดยเว็บไซต์ฟรี และเสียเงิน โดยผู้ที่สนใจไม่จำเป็นต้องไปซื้อแอพพลิชั่นหรือเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้เสียเวลาเพราะสามารถ เช่าใช้เป็นรายเดือน และสามารถเปิดบริการได้ทันที
  • การขอแรงสนับสนุนหรือบริจาค
       วิธีสุดท้ายเป็นอาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยเป็นวิธีที่เรียกว่าการขอแรงสนับสนุนหรือความเห็นใจ จากผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ ซึ่งบางครั้งผู้ที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ของคุณอาจจะได้ประโยชน์จากการใช้เว็บไซต์ของคุณมากมาย และมีความต้องการที่จะช่วยเหลือเว็บไซต์ของคุณ แต่ความรู้สึกเหล่านั้นเก็บอยู่ภายในใจของผู้ใช้บริการ และมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเว็บไซต์ของคุณ ดังนั้นวิธีการ แจ้งถึงการร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ของคุณ ดยการแจ้งวิธีการสนับสนุน ซึ่งอาจจะเป็นการ ช่วยสนับสนุนโครงการด้วยเงิน หรือ สนับสนุนด้วยรูปแบบอื่นๆ อาจจะช่วยทำให้เว็บไซต์คุณสามารถมีรายได้หรือความช่วยเหลือจากผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของคุณก็ได้ (ลองเอาไปใช้ดูครับ ผมลองมาแล้ว และก็มีหลายๆ ท่านให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีครับ)