มีคำถาม ถามกันมากมายกับผมว่าขนาดของเว็บไซต์มารตฐาน นั้นขนาดเท่าไหร่ จริงๆแล้วผมอยากจะบอกว่า ขนาดมารตฐานนั้น ขึ้นอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ และ ขึ้นกับระบบปฏิบัติการของคุณด้วย ยกตัวอย่าง Windows ต่ำกว่า xp และ windows vista ขึ้นไปหรือ windows 7 และ 8 นั้นเอง คล่าวๆ จะประมาณนี้ แล้วถามกันว่ามันเกี่ยวอะไรกับหน้าจอและระบบปฏิบัติการวินโดว์หรือ OS ของคุณ
เว็บไซต์ มารตฐานจริงๆ แล้ว ขนาดไม่ควรเกิน 1000 px เพราะอะไร ? เหตุผลนี้ก็เพราะว่า หน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าเป็นระบบปฏิบัตรการ Windows XP จะกว้างอยู่ที่ 1024px เห็นได้ชัดว่า มันห่างจากที่ผมได้เขียนไว้ว่า ไม่เกิน 1000px ห่างแค่ 24px แค่นั้นเอง ถ้าเกิดเราใส่ค่ามากกว่านั้นเว็บไซต์ของคุณเมื่อเปิดบนหน้าจอที่มีความกว้างต่ำกว่า ความกว้างของเว็บที่ระบุไว้ จะทำให้เกิด Scrolling หรือ Scrollbar นั้นเอง แต่จะบอกไว้ว่า เว็บไซต์ที่กะขนาดความกว้าง 1000px ใช่ว่าไม่เกิดสกอบาร์แล้วจะทำให้เว็บไซต์ดูดี มันยังขาดสิ่ง 1 ไป ก็คือ พื้นหลัง! หรือ BG นั้นเองครับ ถ้าคุณเอาเว็บไซต์ที่มีขนาด 1000px ไปเปิดบน หน้าจอ 1366Px หรือ ระบบ Windows7 หรือ 8 นั้นเอง มันจะทำให้เว็บไซต์ของคุณดูสวยงามพิเศษเพราะมองเห็นพื้นหลัง เพราะความกว้างของจอ ยังมีพื้นที่อีก 366Px ให้เหลือพื้นหลังไว้มองนั้นเองครับ แต่ยังไงถึงแม้ ค่ามารตฐาน 1000px จะไม่ให้เกิดสกอร์บาร์ก็ตาม แต่มันยังไม่สมบูรณ์พอ เพราะ 1000px เห็นได้ว่า WindowsXP และ Windows7 คือความกว้างจะห่างกันอยู่ดังนั้น ถ้าอยากให้ WindowsXP เห็นพื้นหลังเราก็ลดขนาดของเว็บไซต์ลงอีกเพื่อจะได้เห็น BG ซะประมาณ 900px แจ่มเลย เพราะจะเหลือพื้นที่อีก 100px ไว้โชว์แถบพื้นหลัง และ ยิ่งเปิดบนจอ LCD LED แล้วละก็สวยเฉียบเลยครับ ดังนั้นโปรดจำไว้ว่า ออกแบบเว็บไซต์ให้ดูที่อุปกรณ์รองรับการแสดงผลด้วย ดังนั้นค่ามารตฐาน ไม่ควรกว้างเกิน 1000 Px ครับ จะลดลง 900-800-700 ก็ไม่มีปัญหาแต่ขออย่าเกิน 1000Px
ส่วนความสูงของเว็บไซต์ ก็มีถามมาเหมือนกัน ส่วนนี้อยากตอบว่า เว็บไซต์ของคุณจะสูงเท่าไหร่ขึ้นกับเนื้อหาที่จะใส่ลงไปบนเว็บไซต์ดังนั้นตัวนี้ไม่มีผลกับจอใดๆ ทั้งนั้น ก็คือความสูงครับ
เสริมความรู้
W=Width= ความกว้าง
H=Height= ความสูง
Px=Pixels=พิกเซล=หน่วยวัดระยะมารตราความกว้างและความสูง
W=Width= ความกว้าง
H=Height= ความสูง
Px=Pixels=พิกเซล=หน่วยวัดระยะมารตราความกว้างและความสูง
ที่มา...http://eateraser.com/
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น